วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยาคูลท์ ยาคูลท์



สาระของยาคูลท์ที่มีอยู่จริงและคุณอาจจะไม่เคยรู้


          วันนี้สาระมีอยู่จริงมาน้ำเสนอเรื่องเกี่ยวกับยาคูลท์ ใครไม่รู้จักยาคูลท์บ้าง? ไม่มีใช่ไหมล่ะ งั้นเรามาติดตามสาระของยาคูลท์ได้เลยครับ



          ยาคูลท์ เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว ที่คิดค้นโดย ศาสตราจารย์ชิโรตะ มิโนรุ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ใน พ.ศ. 2473 ยาคูลท์เกิดจากกระบวนการหมักของนมด้วยแบคทีเรียแลกโตบาซิลลัส (Lactobacillus casei Strain Shirota) และต่อมาใน พ.ศ. 2478 เขาได้ก่อตั้งบริษัทยาคูลท์ ในเมืองมินะโตะ จังหวัดโตเกียว ได้เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยคือ บริษัท ยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด มีที่ตั้งอยู่ที่ ชั้น 16 อาคารยาคูลท์ เลขที่ 1025 ถนนพหลโยธิน พญาไท กรุงเทพ 10400 ด้วยระบบขายตรง (สาวยาคูลท์) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง เมื่อปี พ.ศ. 2514        

          ศาสตราจารย์ชิโรตะ มิโนรุ ได้ให้คิดแนว
ความคิดที่ว่า Shirota-ism หรือการแพทย์เพื่อการป้องกันไว้ว่า “Kenchou Chojyo” หรือ “ลำไส้ที่เข็งแรง นำพาไปสู่การมีอายุที่ยืนยาว” ซึ่งได้นำมาสู่การผลิต ยาคูลท์ขึ้น โดยมีลำดับขึ้นตอนในการทดลองเชื้อโปรไบโอติกที่จะนำใช้ในห้องแล็ปก่อนจะนำผลิตจริงดังนี้ ในขั้นแรก คือการทดลองใน synthetic gastric juice เเละ Bile salt ในสภาพที่เป็นกรดและด่างที่รุนแรงเพื่อดูว่าเชื้อนั้นจะสามารถทนได้ไหม ที่ความเข้มข้นจากน้อยไปหามาก จากนั้นจึงนำเชื้อที่คัดเลือกแล้วมาทดลองในคน โดยการรับประทาน แล้วนำอุจจาระไปตรวจเพื่อดูว่ายังมีเชื้อเหลือรอดในระบบทางเดินอาหารไหม

       
          โปรไบโอติก (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายผู้ที่รับประทาน สามารถแยกได้จากคน สัตว์หรืออาหารหมัก มีความสามารถในการทนกรดและด่างเข้มข้นในระบบทางเดินอาหาร มีความสามารถในการยึดเกาะผนังลำไส้ สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคได้ และไม่ก่อให้เกิดโรคและสร้าง ซึ่งจุลินทรีย์ Lactobacillus casei Strain Shirota ของยาคูลท์ก็จัดว่าโปรไบโอติก ที่มีลักษณะเป็นท่อน สามารถสร้างกรดแลคติก ทนต่อกรดและด่างรุนแรง ซึ่งมีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโทษ ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมและย่อยอาหารได้ดีขึ้น ป้อกันการท้องเสีย ท้องผูก ช่วยปรับสภาพอุจจาระให้ดี ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งและกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย


           ยาคูลท์ใช้วัตถุดิบในการผลิตคือ นมผงพร่องมันเนย น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลทราย และน้ำ กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน

1. การหมักนม    
             
2. การผสมนมให้ได้ยาคูลท์    

3. การผลิตขวด        
       
4. การบรรจุขวด

5. การขนส่ง         
          
6. สาวยาคูลท์





เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ พอหอมปากหอมคอ



  •      โรงงานผลิตยาคูลท์ผ่านการรับรองมาตรฐานโรงงาน (HACCP & GMP)
  •      ยาคูลท์มีอายุการเก็บตามกฎหมาย 10 วันนับจากวันที่ผลิต แต่ได้มีการทดลองเก็บ พบว่ามีอายุการเก็บนานถึง 30 วัน แต่จะเกิดการตกตะกอนของนม ลักษณะโดยทั่วไปไม่เปลี่ยนแปลง แต่รสชาติอาจไม่เหมือนเดิมและปริมาณจุลินทรีย์ที่มีจะลดจำนวนลง จึงควรที่จะรับประทานในช่วง 1 – 15 วันจะดีที่สุด
  •      ในกระบวนการผลิตยาคูลท์ไม่มีการใส่สารกันการตกตะกอน
  •      สาเหตุที่ยาคูลท์ไม่มีการผลิตขนาดอื่นนอกจาก 80 มล. เพราะว่าปริมาณจุลินทรีย์ที่มีในนมปริมาตร 80 มล.นั้นเพียงพอต่อการรับประทานในแต่ละวัน จึงไม่มีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ แต่ถ้าจะดื่มมากกว่านั้นก็ไม่เกิดโทษแต่อย่างใด
  •      ในกระบวนการผลิตมักไม่เจอปัญหาในเรื่องการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์อื่นๆ แต่ถ้าจะมีก็จะเป็นเชื้อยีสต์
  •      ยาคูลท์ไม่ใช้นมสดในการผลิตแต่ใช้นมผงพร่องมันเนยแทน เพื่อลดขั้นตอนในการตรวจรับน้ำนมดิบและการกำจัดไขมันในนมออก
  •      ยาคูลท์ในประเทศไทยไม่มีผลิตภัณฑ์อย่างอื่น แต่ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น นั้นมีผลิตภัณฑ์อื่นจำหน่าย อย่าง ยาคูลท์ 400 ที่มีปริมาณจุลินทรีย์มากกว่าถึง 40,000พันล้านตัว โยเกิร์ต น้ำผักและผลไม้ และผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่หมักจากเชื้อโปรไบโอติกคือ Bifiobacteria เป็นต้น

เรื่องลับเฉพาะของยาคูลท์

ชื่อมาจากภาษา  Esperanto 




ใครๆก็รู้ว่ายาคูลท์เป็นนมเปรี้ยวสัญชาติญี่ปุ่น 1000%  
แปลกตรงที่ชื่อไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นทั้งที่ประเทศนี้ชาตินิยมจัดมาก 
YAKULT เป็นภาษา Esperanto(ภาษาประดิษฐ์ของหมอรัสเซีย)
มาจากคำว่า "Jahurto"  มีความหมายเท่ากับ "Yoghurt" 
ซึ่งแปลตรงตัวว่า "การมีอายุยืนยาววววววว"

ยาคูลท์เคยขวดแก้ว 



ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 
"ยาคูลท์" เคยใช้ขวดแก้วใสๆมาตลอด 
สรีระของขวดมีแรงบันดาลใจจาก " Kokeishi" ตุ๊กตาโบราณ
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1968 ปรับเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกแบบที่เราเห็นในปัจจุปัน
เพราะ "ต้นทุนถูกกว่า"และ"น้ำหนักเบากว่า" 
ซึ่งสาวยาคูลท์สมัยก่อนนั้น มีสโลแกนว่า "อึด ถึก ควาย" แต่ในปัจุบัน 
สาวยาคูลท์ในยุคใหม่ไม่ต้องแบกขวดแก้วหนักเกินเหมือนในอดีตแล้วเพราะมีรถ

สาวยาคูลท์ Who is she?



เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อยาคูลท์ในอดีตเป็นแม่บ้าน
การมีคนส่งยาคูลท์เป็นผู้หญิงและแนะนำเรื่องสุขภาพให้ผู้หญิงด้วยกันฟัง 
จะทำให้รู้สึกสนิทใจกันมากกว่า ประหนึ่งรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงนั่งเม้าส์ม้อยส์
เพราะฉะนั้น "สาวยาคูลท์ "จึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยเหตุนี้ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1963 
คาดว่าเมียผู้ก่อตั้งคงนำยาคูลท์ไปเม้าส์ขายกับชมรมแม่บ้านแล้วขายดี 

ตั้งแถว – ตบมือ – สู้เพื่อแม่ !


บริษัทยาคูลท์ประเทศญี่ปุ่นมีธรรมเนียมแสนเก๋จนต้องยกนิ้วให้
เพราะพนักงานในบริษัทยาคูลท์ และ ร.ป.ภ.จะตั้งแถวตบมือทุกครั้ง 
เมื่อสาวยาคูลท์ญี่ปุ่นออกไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อเรียกขวัญกำลังใจ-สู้โว้ย

ยาคูลท์ไทย ดังระเบิดเพราะอหิวาตกโรค



คือ เมื่อปี พ.ศ. 2515 เกิดอหิวาตกโรคระบาดแถวปากน้ำ จ.สมุทรปราการ
บริษัทยาคูลท์ไทยนำยาคูลท์เพื่อเยียวยาอาการผู้ป่วย ซึ่งตอนนั้นมีที่อาการหนักอยู่ 3 คน
ซึ่งถ้าผู้ป่วยจะใช้ยาคูลท์แทนยาจะต้องหยุดดื่มยาทั้งหมด และต้องดื่มยาคูลท์ต่างน้ำ 
ปรากฏว่าสามชั่วโมงผ่านไป คนไข้ที่ดื่มยาคูลท์หยุดถ่าย 
และกลายเป็นกระแส Talk Of The town ณ.บัดนั้น

ยาคูลท์มีไซส์เดียว?


ไม่เลยเพราะ ยาคูลท์รอบโลกมีไซส์ที่แตกต่างกัน 
เช่นขวดไซส์ 100 มล. จะเห็นได้ที่ สิงค์โปร์ ไต้หวัน และจีน
แต่ที่นี่ประเทศไทย มีไซส์เดียวตลอดกาลนั่นคือ 80 มล.
และขนาดนี้ก็มีขายเฉพาะ เกาหลี มาเลเซีย และอเมริกาเท่านั้น
เพราะไซส์นี้มีจุลินทรีย์แลคโตบัลซิลัสมากกว่า 8,000 ล้านตัว
เชื่อว่าเพียงพอสำหรับการสร้างสมดุลภายในลำไส้เหมาะกับคนไทย
แต่คนไทยก็กินเอาอิ่ม เห็นได้ว่าอย่างต่ำก็สองขวดขึ้นไป

คอคอดที่ขวดบอกอะไร ?


แค่เห็นเงาก็รู้แล้วว่าเป็นยาคูลท์!!!
เพราะขวดนมเปรี้ยวยี่ห้อนี้ดีไซน์ขวดเป็นเอกลักษณ์สุด ๆ
โดยเฉพาะ"คอคอด" ซึ่งเชื่อว่าให้ถือสะดวกและลิ้มรสช้าๆ จะได้ไม่ดื่มทีเดียวหมด 

ยาคูลท์รุ่นกองทัพจุลินทรีย์

Yakult 400LT คือสูตรเด็ดสำหรับคนรักจะถ่ายคล่อง
เพราะยาคูลท์ขวดนี้ลดความหวาน ลดแคลอรีหลายเท่าตัว 
แต่เพิ่มแลคโตบัลซิลัสตระกูล  Shirota เกือบ 400,000 ล้านตัวต่อขวด!!
จากไซส์ปกติมีเพียง 6.5 พันล้านหรือให้เต็มที่ก็แค่ 3 แสนล้านตัวเท่านั้น
เป็นรุ่นสำหรับผู้ที่มีปัญหาขี้ไม่ออกบอกไม่ถูก

อุณหภูมิที่ยาคูลท์ลั้ลลา


เลือกซื้อยาคูลท์จากตู้แช่ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส 
เพราะดีกรีหนาวเยี่ยงนี้จะทำให้ได้จุลินทรีย์ลั้ลลาและพร้อมจะทำงานให้เราได้เต็มที
ยิ่งหนาวยิ่งดี เหรอ เราก็จัดให้โดยแช่ช่องแข็ง เล่นซะเป็นจุลินทรีย์ยุคน้ำแข็งเลย

เครื่องสำอางยาคูลท์ก็มี


ปี ค.ศ. 1971 ยาคูลท์นึกเปรี้ยวอยากให้ผู้หญิงญี่ปุ่นงามหมดจรดปลายเท้า
สกัดแบคทีเรียพันธุ์ดีอย่างแลคโตบัลซิลัสเป็นเครื่องสำอางครบทุก LINE
มีสาวยาคูลท์เคาะประตูขายตรงถึงหน้าบ้านจนกระทั่งขายในซาลอนอย่างเอิกเกริก
แต่หลังจากนั้นอีก 10 ปี เครื่องสำอางสายพันธุ์ยาคูลท์ต้องโบกมือลาหนังหน้าสาว ๆ 
เพราะผู้บริหารอยากจะ FOCUS เฉพาะนมเปรี้ยว ไม่อยากให้เลอะเทะไปกว่านี้

ยาคูลท์รุ่น SHEs


แม้ยาคูลท์ไทยแลนด์( หรือเกือบทั่วโลก) จะมีรสชาติสุดคลาสสิคชูโรง
ซึ่งบางครั้งสาวกยาคูทล์แอบเซ็งเพราะอยากลองจิบ&ลิ้มรสชาติใหม่ ๆ บ้าง
แต่สำหรับประเทศต้นตำรับอย่างญี่ปุ่นก็ขยันออกสูตรใหม่ให้เปิดซิงตลอด
อย่างเช่น "Yakult SHEs" เจาะกลุ่มสตรีรักสวยรักงามเป็นการเฉพาะ
เพราะนมเปรี้ยวสูตรนี้อัดแน่นด้วยแคลเซียม ,เหล็ก และที่สำคัญคือคอลาเจน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น